วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาษาอังกฤษกับคนไทย

                               ASEAN DIARY : การใช้ภาษาอังกฤษ  
        และภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน


     
          กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English”  “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ความหมายที่เป็นที่เข้าใจในขั้นต้นก็เป็นเพียงเรื่องของทางราชการและภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของการทำงานในโลกปัจจุบันอยู่แล้วแม้จะหมายความเพียงว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทว่าความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน  แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม  ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน  ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา เช่นภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และ ภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศคือ: จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ)
       ภาษาอังกฤษ: ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต  แต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็น “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน”  ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ฯลฯ
คนทำงานเกี่ยวกับอาเซียน : คนที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของอาเซียน หมายถึงตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ไปจนถึงคนทำงานในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
          ข้าราชการไทยทุกกระทรวงทบวงกรม จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และใช้ได้ดีด้วย เพราะงานเกี่ยวกับอาเซียนนั้นเกี่ยวกับทุกกระทรวงทบวงกรม จากนี้ไปควรเป็นนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุข้าราชการทุกระดับทุกหน่วยงานโดยคำนึงถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งราชการนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับงานอาเซียนโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เพราะถึงอย่างไรงานทุกระดับในหน่วยราชการจะต้องเกี่ยวข้องกับอาเซียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้น รัฐบาลควรมี นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าในช่วงเวลาก่อนถึงปี 2558/2015 อันเป็นปีบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน ว่าจะปรับขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชทุกคนทุกระดับแล้วปรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนข้าราชการที่พัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ให้ได้เงินเดือนสูงพอหรือสูงเหนือเงินเดือนปรกติในระบบราชการปัจจุบัน สูงจนเป็นที่ดึงดูดคนที่มีขีดความสามารถสูงหันมาสนใจรับราชการโดยไม่ลังเลว่าจะไปทำงานภาคเอกชนดีกว่าหรือไม่ สูงจนมาตรฐานการตอบแทนภาครัฐเทียบเท่าหรือดีกว่าภาคเอกชน
           นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าของระบบราชการก็คือพัฒนาบุคคลากรที่พัฒนาได้แล้วปรับเงินเดือนส่วนที่พัฒนาได้มาตรฐาน ที่เหลือก็ค่อยๆพัฒนาและปรับผลตอบแทนต่อไปในระยะยาว ข้าราชการที่ไม่ปรับตัวก็ให้อยู่อย่างปรกติธรรมดาเหมือนเดิมแบบชีวิตไม่เปลี่ยนแปลงต่อไป เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ได้เสมอเหมือนกันทุกคน ทุกวัย ทุกวัฒนธรรม ไม่เกี่ยวกับภูมิปัญญาพิเศษใดๆ ใครๆก็เรียนภาษาใหม่ได้ ใครๆก็เรียนภาษาอังกฤษได้- ถ้าอยากจะเรียน -ไม่มีข้ออ้างว่ายากจน เรียนไม่ไหว หรืออายุมากแล้ว “ลิ้นแข็ง” เรียนไม่ได้แล้ว ภาษาเป็นทักษะ เรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝน ใช้มากๆ ใช้บ่อยๆ เท่านั้นเอง ถ้าขยันเรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ในเวลาไม่นาน วิธีสร้างแรงจูงใจโดยการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการจึงเป็นแรงจูงใจอย่างมีเหตุผลดีในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชไทยยุคประชาคมอาเซียน
            นโยบายระยะยาว ก็ควรเป็นการให้ขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานกลางของระบบราชการโดยปรับเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ หากทำเช่นว่านี้ได้ก็เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมในการปรับฐานเงินเดือนและผลตอบแทนให้ข้าราชการทุกคนพนักงานประจำสำนักเลขาธิการอาเซียน สำหรับคนที่ต้องการจะไปทำงานเกี่ยวกับอาเซียนโดยตรงในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา หรือสำนักงานสาขาในประเทศอื่นที่จะมีในอนาคต ตลอดจนผู้ที่จะไปทำงานให้กับรัฐบาลประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียน กล่าวโดยตรงก็คือคนที่จะไปรับราชการในประเทศอาเซียนอื่น ซึ่งในอนาคตจะเป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ เพราะแต่ละรัฐสมาชิกจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้รู้เกี่ยวกับอาเซียนและรัฐสมาชิกอื่นในระบบการทำงานของราชการ (หรือรัฐการ) ของตน ประเทศในอาเซียนจะมีความต้องการว่าจ้างคนไทยที่มีความรู้ความสามารถเรื่องไทยและเรื่องอาเซียนให้เข้ารับราชการในประเทศของตน ชาวไทยที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิตก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษก่อนเรื่องอื่นใด ในยุคอาณานิคม แม้ไทยจะมิได้เป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่รัฐบาลสยามก็จ้างชาวอังกฤษมาเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรก และจ้างชาวดัทช์มารับราชการในกรมชลประทาน และ จ้างชาวอังกฤษมาเป็นครูในพระราชวังและในระบบการศึกษาพื้นฐาน ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยและของชาติสมาชิกอาเซียนอื่นก็ล้วนแล้วแต่มีกรมกิจการอาเซียนด้่วยกันทั้งนั้น และย่อมเป็นไปได้ที่แต่ละหน่วยงานจะมีความจำเป็นต้องจ้างชาวไทยเข้าสู่ระบบราชการของแต่ละประเทศด้วย ในทางกลับกันระบบราชการไทยก็จะมีความจำเป็นที่ต้องจ้างชาวลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และ ฟิลิปปินส์ มาทำงานในกระทรวงต่างๆของไทย ทำนองเดียวกันกับที่สถาบันการศึกษาต่างๆจ้างครูชาวต่างชาติ  ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป  (ภาษาอังกฤษ สำหรับ : คนทำงานในอาเซียน คนทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน คนมีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน คนแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน คนมีเพื่อนในอาเซียน คนเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน)

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน


                                            ประเทศสมาชิกอาเซียน
                  
                                      บรูไนดารุสซาลาม




                 

                บรูไนฯ เป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527
       ข้อมูลทั่วไป
    มีชื่อเป็นทางการว่า เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei
Darussalam) ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน มีนักท่องเที่ยวที่มี
กำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism เริ่มพิจารณาขยาย
การค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายในภูมิภาคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไนฯ
และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
      พื้นที่
5,765 ตารางกิโลเมตร
    เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน
      ประชากร
381,371 คน

      ภาษา
มาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
     ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 67) พุทธ (ร้อยละ 13) คริสต์ (ร้อยละ 10)
และฮินดู (ร้อยละ 10)
    วันชาติ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์
    วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 1 มกราคม 2527
    การปกครอง
   ระบอบกษัตริย์ มีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและเป็น
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรักษาการรัฐมนตรีการคลังด้วย
    อากาศ
อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก
อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
    สกุลเงิน
   ดอลลาร์บรูไน (เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์
และสามารถใช้แทนกันได้)
    ข้อมูลเศรษฐกิจ
   ประเทศบรูไนฯ ส่งออกน้ำมันถึงร้อยละ 90 รายได้ประชากรต่อหัว 25,200 ดอลลาร์สหรัฐ แต่น้ำมันสำรองจะเหลืออยู่อีกประมาณ 25 ปีหากไม่พบแหล่งน้ำมันใหม่ในอนาคต จึงเริ่มกระจายการผลิตและส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สินค้าเกษตร ประมง และเสื้อผ้า
นอกเหนือจากการผลิตน้ำมัน
    ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
    ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
    ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาทิข้าวและผลไม้
   ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
   ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
   อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
   ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – บรูไนดารุสซาลาม
   ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
2527 ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีทัศนคติที่ดีต่อกัน
มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอย่าง
สม่ำเสมอ และเป็นพันธมิตรในเรื่องต่างๆ ทั้งในกรอบอาเซียนและ
กรอบสหประชาชาติ

    ด้านการเมืองและความมั่นคง
    ไทยและบรูไนฯ มีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอด
คล้องกัน และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของ
กองทัพของทั้งสองประเทศ
    ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
     บรูไนฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบรูไนฯ เป็นคู่ค้าลำดับที่ 56 ของไทย สินค้าที่บรูไนฯ ส่งออกมาประเทศไทย ได้แก่ น้ำมันดิบ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ วัสดุทำจากยางสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์กระดาษ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด สินค้าส่งออกของประเทศไทย คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูปน้ำตาลทราย ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิกเครื่องจักรกล และส่วนประกอบเครื่องจักรกลและเครื่องคอมพิวเตอร์
     ด้านการท่องเที่ยว
   นักท่องเที่ยวบรูไนฯเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเป็นนักท่องเที่ยวที่มี
การใช้จ่ายสูงและมีศักยภาพ
     ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
    ไทยและบรูไนฯ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียงและภาพ เพื่อเป็นารส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์
การแลกเปลี่ยนรายการวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีสาระตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอันจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

     ด้านการศึกษา
      ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยที่ไปเรียนในมหาวิทยาลัยบรูไนฯ ทั้งโดยทุนรัฐบาลไทยและบรูไนฯ และมีนักศึกษามุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับทุนจากทางการบรูไนฯ ให้ไปเรียนทางด้านรัฐศาสตร์และการศาสนา ซึ่งมีทั้งหญิงและชาย แต่ก็มีนักศึกษาหลายคนที่บริษัทเอกชนในประเทศไทยส่งไปเรียนวิชาทั่วไป
     ข้อควรรู้

    ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่จุดตรวจคนเข้าเมืองในประเทศบรูไนฯได้ตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนมีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
- สินค้าที่ขัดกับข้อกำหนดฮาลาล ได้แก่ เนื้อไก่สด/แช่แข็ง(ที่ไม่ได้เชือดโดยชาวมุสลิม) สินค้าที่ขัดกับประเพณี และขนบธรรมเนียมอันดีงาม ได้แก่ ภาพและสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร เป็นต้น สินค้าที่ขัดกับหลักข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เช่น เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และสินค้าที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ เช่น กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สินค้าปลอม รวมทั้งสินค้า
ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย
- สตรีชาวบรูไนฯ จะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาวเสื้อแขนยาวและมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติจึงไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้นและใส่เสื้อไม่มีแขนควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับการใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทนและจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้
ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง


                      ราชอาณาจักรกัมพูชา


                                 


           กัมพูชา เป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
       
          ข้อมูลทั่วไป
          มีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)    มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อประเทศไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมีพรมแดนทางบกติดต่อกันยาว 798 กิโลเมตร และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง
“โอกาส” และ “ปัญหา” รวมทั้ง เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้าและแหล่งลงทุนที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและตอนใต้
          พื้นที่
181,035 ตารางกิโลเมตร
          เมืองหลวง
กรุงพนมเปญ
          ประชากร
14.45 ล้านคน

          ภาษา
เขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสเวียดนาม จีน และไทย
           ศาสนา
พุทธ นิกายเถรวาท อิสลาม และคริสต์
           วันชาติ
วันที่ 9 พฤศจิกายน
           วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2493
           การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
           อากาศ ร้อนชื้น
มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส
           สกุลเงิน
เรียล
           ข้อมูลเศรษฐกิจ
         รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อมุ่งขจัดความยากจนยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น

           ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
เสื้อผ้า สิ่งทอเหล็ก รองเท้า ปลาไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
           ผลิตภัณฑ์นำเข้าสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรยานพาหนะและเครื่องใช้ไฟฟ้า
           ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
           ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย ไต้หวัน
           ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย - ราชอาณาจักรกัมพูชา
         ด้านการเมืองและความมั่นคงผู้นำไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยน
การเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น และสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือแก้ไข เช่น
การปักปันเขตแดน เป็นต้น
           ด้านเศรษฐกิจ/การค้า/การลงทุน
การลงทุนของไทยในกัมพูชาสูงเป็นลำดับ 5 การลงทุนที่สำคัญของไทยคือ ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรมและภาคบริการ เช่น โรงแรมท่องเที่ยว ร้านอาหาร และธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น

           ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา
          ไทยกับกัมพูชามีความคล้ายคลึงกันทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างมากจึงเป็นเรื่องง่ายที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมเป็นสื่อกลาง ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย – กัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและใช้เป็นกลไกในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ และยังได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวเพื่อผลักดันความร่วมมือในแต่ละสาขาด้วย นอกจากนี้ ไทยกับกัมพูชาได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสารสนเทศและการกระจายเสียงด้านแรงงานไทยกับกัมพูชาได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการขจัดการค้าเด็กและผู้หญิงและการช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 เพื่อจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามแดนโดยผิดกฎหมายชาวกัมพูชาในไทยรวมทั้งป้องกันและ
ปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์
           ข้อควรรู้
- ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถขอตรวจลงตราเข้ากัมพูชา
ได้จากสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในไทย โดยเสียค่าธรรมเนียม
1,000 บาท หรือขอตรวจลงตรานักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่านได้เมื่อ
เดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on
Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็น
ระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอ
และบี และกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนที่สถานเอกอัครราชทูตไทย
เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อและให้ความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน


                      สาธารณรัฐอินโดนีเซีย






                    อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน
           เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

         
         ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก มีทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน
ทองคำ สัตว์น้ำ) เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีบทบาทสูงในกลุ่มNAM และ OIC
          พื้นที่
5,193,250 ตารางกิโลเมตร
          เมืองหลวง
กรุงจาการ์ตา
          ประชากร
245.5 ล้านคน
          ภาษา
อินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ


         ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 88) คริสต์ (ร้อยละ 8) ฮินดู (ร้อยละ 2)
พุทธ (ร้อยละ1) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ1)
         วันชาติ
วันที่ 17 สิงหาคม
         วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 7 มีนาคม 2493
          การปกครอง
     ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของประเทศ (วาระการบริหารประเทศ 5 ปี และต่อได้อีก 1 วาระ) มีการแบ่งอำนาจระหว่างประธานาธิบดีและสภาผู้แทนราษฎรและเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐแบบ Unitary Republic ซึ่งมีการปกครองตนเองในบางพื้นที่ (provincial autonomy)
          อากาศ
แบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูแล้งและฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง
21 – 33 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
รูเปียห์
          ข้อมูลเศรษฐกิจ
      อินโดนีเซียมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 10,349.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญในอินโดนีเซีย 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการลงทุน คือ สิงคโปร์ อังกฤษ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซีเชล เมอริเชียส มาเลเซียออสเตรเลีย และบราซิล ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15ของอินโดนีเซีย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ใน 6 โครงการทรัพยากรสำคัญน้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ
          อุตสาหกรรมหลัก
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่
          ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
          ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ
          ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน
         ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
        สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – สาธารณรัฐอินโดนีเซียไทยมีความสัมพันธ์กับดินแดนที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบันมาช้านานโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับชวา และมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวรรณคดี อาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี
เป็นต้น

         ด้านการทูต

       ไทยและอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่7 มีนาคม 2493 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ด้วยดี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในกรอบอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอด้านการเมืองและความมั่นคงทั้งประเทศไทยและอินโดนีเซียมีประเพณีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทางทหาร โดยผู้นำทางทหารของทั้งสองประเทศจะเดินทางไปทำความรู้จักกันในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ และเยี่ยมอำลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง
         ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
    ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีกลไกความร่วมมือในรูปของคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
(JC)
         ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจารมีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ



           สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว






                     ลาวเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540

     ข้อมูลทั่วไป
       มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LaoPeople’s Democratic Republic) เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้งทางบกและทางน้ำถึง 1,810 กิโลเมตรพัฒนาการต่างๆ ในลาวจึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรองและแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว นอกจากนี้เป็นประเทศที่ไม่มี
ทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือland link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค
   พื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร
   เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร
6 ล้านคน
    ภาษา
ลาว
    ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 75) อื่นๆ (ร้อยละ 25)
    วันชาติ
วันที่ 2 ธันวาคม
    วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2493
    การปกครอง
        ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่าระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียว คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
มีประธานประเทศเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลนโยบายต่างประเทศมุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศ โดยให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่
เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชา และไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา
     อากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทยแต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทางตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ
     สกุลเงิน
กีบ
     ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูก 1,187,500 ไร่   และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน/ปี
     ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
     ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
     ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
    ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้านการทูตความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่นใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี
     ด้านการเมืองและความมั่นคง
    กองทัพไทยและลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่นมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-ลาว ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานให้ชายแดนไทย-ลาวเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติภาพและความมั่นคง นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดเป็นประจำทุกปี
      ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
     การค้าระหว่างประเทศทั้งสองมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด นอกจากนี้ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ทั้งในรูปของการให้
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ one way free trade หลายร้อยรายการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน

      ด้านการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวไทยไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.48 และนักท่องเที่ยวลาวมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.84
     ด้านสังคม
      วัฒนธรรมและการศึกษา ไทยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับลาว ตั้งแต่ปี 2516 โดยเน้นด้านการพัฒนาบุคลากรในลักษณะการให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม ดูงาน และโครงการพัฒนาในสาขาการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งการจ้าแรงงาน การคุ้มครองแรงงานและการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
     ข้อควรรู้
     ลาว มีสายการบินเดียวคือ การบินลาว มีสนามบินทั้งหมด 52 แห่ง  มีเพียง 9 แห่งที่ลาดยาง ลาวขับรถทางขวา ธนาคารไทยในลาว มี 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

               ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)



                            



              มาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

       ข้อมูลทั่วไป
     มาเลเซียมุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 หรือ (Vision2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึงปี 2600 มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม
(OIC) และต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี2552 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
       พื้นที่
329,758 ตารางกิโลเมตร
      เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
      ประชากร
27.73 ล้านคน
       ภาษา
มาเลย์
       ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 60) พุทธ (ร้อยละ 19) คริสต์ (ร้อยละ 12)
       วันชาติ
วันที่ 31 สิงหาคม
       วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 31 สิงหาคม 2500
       การปกครอง
      ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี อยู่ในตำแหน่งคราวละ5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐเป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
       อากาศ
มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
       สกุลเงิน
ริงกิต
       ข้อมูลเศรษฐกิจ
     การเพาะปลูก เป็นประเทศที่ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
      ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
       อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลวปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
      ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
      ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
      ด้านการทูต
         นอกจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ ในมาเลเซียอีก 2 แห่ง คือ ปีนัง และโกตาบารูและมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์เกาะลังกาวี อีก 1 แห่ง สำหรับหน่วยงานของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตไทย ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยบริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในประเทศไทย  ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย
ประจำจังหวัดสงขลาด้านการเมืองและความมั่นคงไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้น มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระดับต่างๆตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง ระดับรัฐบาล และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอแต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข เช่น ปัญหาการปักปันเขตแดนทางบก ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และการก่อความ
ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เป็นต้นด้านเศรษฐกิจ/การค้า
การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียในปี 2550 มีมูลค่า 16,408ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 826.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องสำอาง เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพาราสินค้านำเข้าที่สำคัญจากมาเลเซีย ได้แก่ น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิงเคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ ในปี 2550 นักลงทุนมาเลเซียได้รับอนุมัติโครงการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
         ด้านการท่องเที่ยว
        ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทย 1.2 ล้านคนและนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปมาเลเซียประมาณ 600,000 คนด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษาไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น ประชาชนทั้งสองฝ่ายไปมาหาสู่กันในฐานะมิตรและเครือญาติ มีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม และความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจรข้ามแดน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังอนุญาตให้ประชาชนที่ถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของแต่ละประเทศแทนการใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดนรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและวิทยาลัยอิหม่าม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจการศาสนาอิสลาม มีการ
ประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ
ข้อควรรู้
ประเทศมาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร” มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดการปะทะระหว่างเชื้อชาติ เนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียวอีกร้อยละ 5 เป็นชาวไทย และอื่นๆ อีกร้อยละ 2


                               สหภาพพม่า



               พม่าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540

            ข้อมูลทั่วไป
       มีชื่อเป็นทางการว่า สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้าแรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน
(ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย สหภาพพม่าเป็น “critical factor”ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ซึ่งไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมายความมั่นคงบริเวณชายแดน เป็นต้น
            พื้นที่
657,740 ตารางกิโลเมตร
           เมืองหลวง
เนปีดอว์
           ประชากร
55.4 ล้านคน

           ภาษาราชการ
พม่า
           ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 5) อิสลาม (ร้อยละ 3.8)
           วันชาติ
วันที่ 4 มกราคม
          วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 24 สิงหาคม 2491
          การปกครอง
       ระบอบเผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Councilหรือ SPDC) โดยประธาน SPDC เป็นประมุขของประเทศ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
          อากาศ
มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลมส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
         สกุลเงิน
จั๊ต
         ข้อมูลเศรษฐกิจ
       การเพาะปลูกเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้าปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
         ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
         ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
         ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย อินเดีย จีน
         ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
จีน สิงคโปร์ ไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า
         ด้านการทูต
       ไทยและพม่าเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่14 ธันวาคม 2492 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
         ด้านการเมืองและความมั่นคง
       ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilaeral  Cooperation – JC) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint BoundaryCommittee – JBC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค(Regional Border Committee – RBC) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ทั้งในภาพรวมและระดับพื้นที่
         ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
       ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission – JTC) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันไทยเป็นประเทศ
คู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติก สินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เหล็ก เหล็กกล้าและถ่านหิน ด้านการลงทุน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่าร้อยละ 17.28  ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด และเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์
          ด้านการท่องเที่ยว
      ไทยและพม่าจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนา
การท่องเที่ยวระหว่างภาคใต้ของไทยกับเมืองทวายของพม่า
          ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
       ไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม2542 และมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายแก่วัดในพม่าการเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนไทยการสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาประเทศของพม่า โครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน จัดส่งวัสดุอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่าง ๆ ในสาขาการเกษตร การศึกษาสาธารณสุข และสาขาอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน นอกจากนี้เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านยองข่า รัฐฉาน โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่างเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนพม่าให้เลิกปลูกฝิ่นและปลูกพืชผลอย่างอื่น ช่วยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ดำเนินการด้านสาธารณสุข  ฯลฯ แต่ภายหลังเมื่อมีการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบจึงหยุดชะงักไป นอกจากนี้ไทยและพม่าได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสารสนเทศและการกระจายเสียงและเผยแพร่
            ข้อควรรู้
           เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 รัฐบาลพม่าประกาศเปลี่ยนธงชาติและตราประจำชาติอย่างเป็นทางการ แต่ยังใช้ชื่อเดิมคือ สหภาพพม่า(the Union of Myanmar) ส่วนชื่อประเทศใหม่ตามรัฐธรรมนูญ คือ  สาธารณรัฐสหภาพพม่า (the Republic of the Union of Myanmar)

                        สาธารณรัฐฟิลิปปินส์




       ฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
      
       ข้อมูลทั่วไป
      มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยกดินแดนภาคใต้
       พื้นที่
298,170 ตารางกิโลเมตร
       เมืองหลวง
กรุงมะนิลา
       ประชากร
91 ล้านคน
       ภาษา
ตากาล็อก เป็นภาษาประจำชาติ ภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
       ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค (ร้อยละ 83) นิกายโปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 9)อิสลาม (ร้อยละ 5)
       วันชาติ
วันที่ 12 มิถุนายน
       วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 12 กันยายน 2492
       การเมืองการปกครอง
       ระบอบประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าคณะบริหารประเทศ
        อากาศ
       มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือเมืองบาเกียว
        สกุลเงิน
เปโซฟิลิปปินส์
        ข้อมูลเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจสำคัญ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
          แร่ส่งออกสำคัญ
เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
        ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
       แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูปรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้าเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ
        ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
        ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
        ความสัมพันธ์ไทย –ฟิลิปปินส์
มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและราบรื่นมาโดยตลอด ฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์
                                 ทางการทูตด้วย
        ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
        เป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทยในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 2 ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในกลุ่มอาเซียนรองจากสาธารณรัฐสิงคโปร์
ด้านความมั่นคงสาธารณรัฐฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยอย่างสันติ โดยเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม

         ด้านความมั่นคง
        สาธารณรัฐฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยอย่างสันติ โดยเน้น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานหลักสูตรทางศาสนากับหลักสูตรสามัญและกฎหมาย ซึ่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งยกร่างแผนงานเพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่าง ๆ โดยการจัดสัมมนาระหว่างศาสนากับลัทธิความเชื่อ (Interfaith Dialogue) ทั้งนี้
ประเทศไทยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในเรื่องความร่วมมือป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
          ด้านการค้า/การลงทุน
      ไทยขอให้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวมากขึ้น และขอให้ยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้ากระจก โดยมีมติให้คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าพิจารณาหารายละเอียดและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขไทยและฟิลิปปินส์ได้หารือกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนกซึ่งทั้งสองฝ่ายห่วงกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคในภูมิภาคโดยพร้อมจะร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการขยายตัวของโรค
         ด้านพลังงาน
     ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดจัดการประชุมคณะทำงานร่วมด้านพลังงาน (Joint Working Group on Energy) เพื่อสร้างความร่วมมือทั้งพลังงานทางเลือก พลังงานชีวภาพ การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่นๆ
         ด้านการท่องเที่ยว
      ไทยและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม  2536 และในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ฟิลิปปินส์  เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะกระชับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจัดพบปะระหว่างนักธุรกิจ และการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น
         ข้อควรรู้
       การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดโดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้าน
แรงงาน เป็นต้น


                          สาธารณรัฐสิงคโปร์




สิงคโปร์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   
          ข้อมูลทั่วไป
        มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคมการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทยในการเข้าถึงและขยายโอกาสการค้าและการลงทุน มีระบบการศึกษาและการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่อง
          พื้นที่
699.4 ตารางกิโลเมตร
          เมืองหลวง
สิงคโปร์
          ประชากร
4.6 ล้านคน
          ภาษา
มาเลย์ เป็นภาษาประจำชาติ และใช้ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลางและทมิฬ เป็น ภาษาราชการ
         ศาสนา
      พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6)ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)
         วันชาติ
วันที่ 9 สิงหาคม
        วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 20 กันยายน 2508
        การปกครอง
      ระบอบสาธารณรัฐ ระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบายต่างประเทศของสิงคโปร์ เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ
         อากาศ ร้อนชื้น
มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
         สกุลเงิน
ดอลลาร์สิงคโปร์
         ข้อมูลเศรษฐกิจ
        จุดแข็งของสิงคโปร์ คือ เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 4-5ล้านคน ทำให้ศักยภาพของคนเป็นจุดเด่นของประเทศ เนื่องจากรัฐบาลสามารถทุ่มงบประมาณในการพัฒนาระบบการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิงคโปร์โดดเด่นในการเสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือใหม่ๆ กับอาเซียน เช่น เสนอแผนความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะเริ่มใช้ในปี 2563 และแนวคิดเรื่องการตกลงด้านการค้าระหว่างอาเซียน เป็นต้น
         พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้
         ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร
         ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
พลังงาน (ร้อยละ 40 ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร
         ตลาดส่งออกที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
         ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง
                     ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – สิงคโปร์
         ด้านการทูต
         ความสัมพันธ์ไทย–สิงคโปร์ดำเนินมาอย่างราบรื่นตลอด 41 ปีและได้พัฒนาไปในลักษณะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เนื่องจากทั้งสองประเทศมีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดีไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างใหญ่ส่วนสิงคโปร์แม้จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีพื้นที่น้อย แต่มีความก้าวหน้าทางทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและและอุตสาหกรรมในระดับสูง จึงได้นำจุดแข็งของทั้งสองประเทศมาพัฒนาร่วมกันจนนำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
        ด้านการเมืองและความมั่นคง
        มีความร่วมมือทวิภาคี ทั้งการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Prime Minister Retreat) ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ เพื่อสร้างความคุ้นเคยระดับผู้นำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประชุมคณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างกองทัพไทย – สิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศ มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกองทัพเรือไทย – สิงคโปร์ และการฝึกร่วมผสม (Cobra Gold) เป็นต้น
         ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
        สิงคโปร์ มีความชำนาญเรื่องของระบบการค้าเสรีเป็นอย่างดีและเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 5 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีนและมาเลเซีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผนวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบอากาศยาน ด้านการลงทุน สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 6 โดยมีการส่งเสริมความร่วมมือด้านสินค้า
อาหารและเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์
           ด้านการท่องเที่ยว
        ชาวสิงคโปร์มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยและชาวไทย และมีความรู้เกี่ยวกับไทยในระดับดี เนื่องจากมีความนิยมชมชอบเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ตลาดนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์จึงเป็นหนึ่งใน
ตลาดหลักของการท่องเที่ยวของไทยด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษากลไกความร่วมมือ ได้แก่ โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย – สิงคโปร์ (Thailand – Singapore Civil
Service Exchange Programme - CSEP) ด้านการศึกษา มีแผนงานเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาของทั้งสองประเทศ
           ข้อควรรู้
         หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. - 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา08.00 น. – 13.00 น. ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถเดินทางเข้า
สิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราและสามารถพำนักอยู่ได้14 วัน การพำนักเกินระยะเวลาที่กำหนดถือว่าผิดกฎหมายมีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน เฆี่ยน 3 ที ปรับสูงสุด 6,000 ดอลลาร์สิงคโปร์และห้ามเข้าประเทศ การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงขั้นประหารชีวิต


                         ราชอาณาจักรไทย





        ไทยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

           ข้อมูลทั่วไป
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
           พื้นที่
513,115 ตารางกิโลเมตร
           เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร
           ประชากร
63 ล้านคน
           ภาษาราชการ
ไทย
           ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 90) พราหมณ์ ฮินดู คริสต์ และอิสลาม
           วันชาติ
วันที่ 5 ธันวาคม
           การเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
           อากาศ
แบบเขตร้อน (tropical climate) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส
           สกุลเงิน
บาท
           ข้อมูลเศรษฐกิจ
       มูลค่าการค้าระหว่างไทย-ประเทศในอาเซียน (มกราคม – พฤศจิกายน 2551) รวมทั้งสิ้น 66,146.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเกินดุลการค้า 9,625.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ยางพาราเม็ดพลาสติก สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบทองแดงและของทำด้วยทองแดง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด และวงจรพิมพ์เป็นต้น
          พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
           ข้าวข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ  ทุเรียน สับปะรด มังคุด ลางสาด มะม่วง กล้วยหอม ส้มโอ ฯลฯ   อาหาร ทะเลสดและตากแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ
          ประเทศไทยกับอาเซียน
         ไทยเป็นหนึ่งในห้าของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียนและมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          ข้อควรรู้
          ธนาคารเปิดทำการตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 น.
– 16.30 น. (ยกเว้นธนาคารตามห้างสรรพสินค้าที่เปิดบริการทุกวัน)
บริการแลกเปลี่ยนเงินตราเปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 08.30 น.
- 22.00 น.


                 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


             เวียดนามเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 28         กรกฎาคม 2538

               ข้อมูลทั่วไป
             มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีนการบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ศักยภาพการผลิตสูงแรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2563
              พื้นที่
331,690 ตารางกิโลเมตร
              เมืองหลวง
กรุงฮานอย
              ประชากร
87 ล้านคน
              ภาษาราชการ
เวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ  ฝรั่งเศส และจีน
              ศาสนา 
พุทธ (ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 7) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 3)
              วันชาติ
วันที่ 2 กันยายน
              วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 6 สิงหาคม 2519
              การเมืองการปกครอง
         ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม แต่งตั้งโดยสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (Collective Leadership) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีเอกภาพสูงและมีการกระจายอำนาจ ซึ่งมีหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม สมัยที่ 10 เมื่อกลางปี 2549 มีผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
              อากาศ
        มรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่  5 องศาเซลเซียส ถึง 37 องศาเซลเซียส
             สกุลเงิน
ด่ง
                                         ข้อมูลเศรษฐกิจ
             พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย
             การประมง
จับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง
             อุตสาหกรรมที่สำคัญ
อุตสาหกรรมทอผ้า อาหาร เหมืองแร่ รองเท้า ปูนซีเมนต์
             เหมืองแร่ที่สำคัญ
ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
            ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
            ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
            ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
                     ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – เวียดนาม
          ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2519 โดยเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอยและสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และปี 2535 ตามลำดับ
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประกอบด้วยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย
เมื่อปี 2521 ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทุกระดับรวมถึงระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
                  ความร่วมมือด้านการค้า
         ทั้งสองประเทศวางกลไกความสัมพันธ์ในหลายระดับ ระดับสูงสุด คือกรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ซึ่งในการประชุม JCR ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2547 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ ใน “แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมฃเวียดนามในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21” (Joint Statement on the Thailand - Vietnam Cooperation Framework in the FirstDecade of the 21st Century) ระบุให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือในทุกๆ ด้าน และตกลงให้จัดตั้งกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism : JCM) เพื่อเป็นกลไกในระดับรอง ทำหน้าที่ดูแล ประสานความร่วมมือในภาพรวมแทนคณะกรรมาธิการร่วมไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Joint Commission : JC)
            ด้านการเมืองและความมั่นคง
         มีความร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีกรอบการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง(Joint Working Group on Political and Security Cooperation: JWG on PSC) เป็นกลไกสำคัญ
            ความร่วมมือด้านการลงทุน
         ประเทศไทยลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสูงเป็นอันดับที่12 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด เอกชนไทยนิยมลงทุนที่นครโฮจิมินห์และจังหวัดข้างเคียงในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจ ได้แก่ภาคบริการ ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอีกระดับหนึ่งด้านวิชาการ สังคมและวัฒนธรรมประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเวียดนามตั้งแต่ปี 2535ผ่านกรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนการสอนภาษาระหว่างกัน โดยรัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือให้เปิดหลักสูตรสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 5 แห่ง ทั้งนี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุนงบประมาณ 3.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามที่จังหวัดนครพนม ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการศึกษาดูงานระหว่างกันในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
           ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุขเปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- ผู้ถือหนังสือเดินทางปกติของไทย สามารถเดินทางเข้าเวียดนามโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และพำนักอยู่ในเวียดนามได้ไม่เกิน 30 วัน
- ชาวต่างชาติที่อยู่ในเวียดนาม ต้องถือหนังสือเดินทางติดตัวตลอดเวลา ทั้งนี้ควรถ่ายเอกสารหนังสือเดินทาง บัตรเครดิตและเอกสารสำคัญอื่นๆ แยกเก็บไว้ต่างหากจากต้นฉบับ เนื่องจากโรงแรมที่พักจะขอให้แขกต่างชาติแสดงหนังสือเดินทาง เพื่อการลงทะเบียนและแจ้งทางการตำรวจที่เกี่ยวข้อง เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติด การฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต

















วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน


ประชาคมอาเซียน


          pongan20.blogspot.com
   
                  เนื่องจากในปี พ.ศ.2558 จะเกิดประชาคมอาเซี่ยน  ซึ่งมี 3 เสาหลัก คืออาเซียนน่ารู้
      1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community–ASC)   มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี  มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน  มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

       2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community-AEC)   มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน  อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้  เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซีย              

    3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)  เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร  มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี  และมีความมั่นคงทางสังคม
          ประเทศอาเซี่ยนมีด้วยกัน 10 ประเทศ  ได้แก่
1.ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
  ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
 2.ราชอาณาจักรกัวพูชา
    เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
3.สาธารณัฐอินโดนีเซีย
   เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
   เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
5.ประเทศมาเลเซีย
  เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
   เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
7.สาธารณรัฐสิงคโปร์
          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
8.ประเทศไทย
          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
      เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
10.สหภาพพม่า
          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
 
   ประชาคมอาเซียน (Association of South East Asian Nations : ASEAN)
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน>>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

กฎบัตรอาเชียน (ASEAN Charter) คืออะไร

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป
          วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
           โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
       กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
       ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย

ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของประชาคมอาเซียน
1. ประเทศสมาชิกอาเซียน มีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน จึงมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน บางครั้งจึงมีการแย่งตลาดกันเอง และสินค้าส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูป ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามากจะแก้ไขปัญหานี้ได้จะต้องมีการแบ่งการผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันได้ แต่ถ้าต่างคนต่างผลิตโดยไม่มีการกำหนดมาตราฐานร่วมกันในการวางแผนการผลิตก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการรวมกลุ่ม
2. สินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มอาเซียนนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน แต่ละประเทศต่างก็มุ่งจะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามแบบอย่างตะวันตก จึงต้องมีการจัดซื้อเทคโนโลยีชั้นสูง ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พอจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ก็คือสิงคโปร์ แต่ประเทศสมาชิกก็เกี่ยงว่ายังไม่มีคุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมนอกกลุ่มอาเซียน ทำให้การค้าขายระหว่างกันในกลุ่มอาเซียนทำได้ยาก วิธีการแก้ไขจะต้องมีการแบ่งงานกันทำและยอมรับสินค้าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ดีขึ้น
3. ประเทศในอาเซียนพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ละประเทศพยายามส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศตน โดยการใช้กำแพงภาษีหรือกำหนดโควต้า ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มและตลาดการค้าเสรี ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกมารวมกลุ่มกันต้องยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรี (Free Trade) ดังนั้นข้อตกลงใน AFTA ของอาเซียนหลายข้อจึงยังไม่ได้รับการปฏิบัติ
4. ประเทศสมาชิกยังคงปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเป็นหลัก และการหารายได้เข้าของรัฐประเทศในอาเซียนมีลักษณะเหมือนกัน คือรายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าขาเข้าและขาออก ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกันหรือเก็บภาษีให้น้อยลง แต่ประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ในส่วนนี้ได้ เนื่องจากเป็นเงินที่ต้องนำมาพัฒนาประเทศ การรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศในภาคีจึงยังทำได้ยาก
5. ความแตกต่างกันทางการเมืองและการปกครอง กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดไว้ชัดเจนถึงหลักการประชาธิปไตยและให้ประเทศสมาชิกยึดมั่นต่อรัฐบาลที่มาจากวิถีทางรัฐธรรมนูญ การสร้างประชาคมความมั่นคงอาเซียนก็จะช่วยยกระดับความร่วมมือในการส่งเสริมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศอันมีผลต่อความสงบเรียบร้อยทางการเมืองในภูมิภาคด้วย แต่การปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียนมีหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย
5.1 แบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มี 4 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ และ มาเลเซีย
5.2 ประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
5.3 เผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 2 ประเทศ คือ ลาวและเวียดนาม
5.4 เผด็จการทหาร 1 ประเทศ คือ เมียนมาร์ หรือพม่า
5.5 สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 1 ประเทศ คือ บรูไน
สมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สมาชิกบางประเทศยังมีปัญหาด้านความเป็นประชาธิปไตย และยังปกครองในรูปแบบเผด็จการและต้องการรักษาอำนาจของตนไว้ ทำให้อาเซียนพัฒนาได้อย่างยากลำบาก
6. ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาเซียน ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่ เช่น ปัญหาพรมแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา ปัญหาพรมแดนระหว่าง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

7. ความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา โดยสามารถแบ่งกลุ่มประเทศตามศาสนาที่ประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศนับถือได้ ดังนี้

- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ บูรไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คือ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม สิงคโปร์ และประเทศไทย
- ส่วนในฟิลิปปินส์ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
นอกเหนือจากความแตกต่างทางศาสนาแล้ว ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะมีความแตกต่างทางความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ก็เป็น อุปสรรคต่อการหลอมรวมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว
ขอขอบคุณ http://www.thai-aec.com/